UA-56110227-1

โรคของผู้สูงอายุ ที่ต้องดูแลและเอาใจใส่เป็นพิเศษ

ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ วลีนี้ยังใช้ได้เสมอ แต่น้อยคนนักที่จะเป็นได้แบบนั้น คือการไม่มีโรคภัยไข้เจ็บใดๆ มากล้ำกราย แค่ไม่เป็นโรคร้ายแรง หรือต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือนอนโรงพยาบาลก็พอใจแล้ว

ส่วนที่เป็นไข้เป็นหวัด ปวดหัว ไม่สบายธรรมดา เล็กๆน้อยๆ ก็ถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย ก็ต้องดูแลรักษากันไป โดยเฉพาะเมื่อถึงวัยที่อายุมากขึ้น หรือเข้าสู่วัยชรา ที่โรคภัยไข้เจ็บต่างก็เริ่มเข้ามารุมเร้า

บางท่านไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคเพียงโรคเดียว อาจมีอาการแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ ตามมาด้วย เพราะในช่วงที่เจ็บป่วย ร่างกายจะมีภูมิต้านทานลดลง ทำให้เกิดโรคซ้ำซ้อนได้ง่าย

มากันดูว่า ผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคอะไรกันบ้าง และต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษบ้าง

โรคเบาหวาน โรคยอดนิยมในผู้สูงอายุ เกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ทั้งกรรมพันธุ์ อายุที่มากขึ้น สาเหตุจากโรคอ้วน เมื่อเป็นโรคนี้ 2 อย่างที่ต้องทำเป็นประจำ เพื่อไม่ให้โรคนี้ลุกลาม และไม่สามารถรักษาได้ คือ การควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดการบริโภคน้ำตาล และอาหารที่มีไขมัน หรือคอเลสเตอรอลสูง บรรดาของหวานทั้งหลาย ผลไม้จำพวก ทุเรียน ลำไย ควรงดหรือเลิกรับประทาน ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง เพื่อควบคุมระดับความดัน และต้องคอยตรวจระดับน้ำตาลในเลือด อยู่เป็นประจำ หากมีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ ก็ต้องรีบไปหาหมอทันที

โรคอ้วน เมื่ออายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญในร่างกาย อาจไม่เหมือนสมัยยังเป็นหนุ่มเป็นสาว ทำให้ไม่สามารถเผาผลาญพลังงาน ที่รับประทานเข้าไปทั้งหมด หรืออาจเป็นท่านเอง ที่เอร็ดอร่อยกับการรับประทาน จนลืมควบคุมอาหาร มารู้ตัวอีกทีก็เป็นโรคอ้วนแล้ว และโรคอ้วนนี่แหละ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา ทั้ง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง แต่โรคอ้วนสามารถหายได้ ด้วยการควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก ล

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ต้องดูแลอย่างจริงจัง แต่ก็พรากผู้ที่เป็นที่รัก ไปจากครอบครัวหลายๆ คน คนเป็นโรคนี้ ควรควบคุมการบริโภคเกลือแกง หรือลดอาหารรสเค็มลงนั่นเอง ควรรับประทานอาหารรสจืด ผักผลไม้ และงดออกกำลังที่ต้องใช้แรงมากๆ อย่างต่อเนื่อง  เพราะจะทำไห้ร่างกายเกิดอาการแทรกซ้อน ถึงขั้นเส้นเลือดในสมองแตก หรือโรคหัวใจขาดเลือดได้ ดังนั้น ควรออกกำลังเบาๆ และหยุดพักเป็นช่วงๆ เช่น ออกกำลังต่อเนื่อง 10 นาที พัก 3 นาที 3-5 ยก เป็นต้น ไม่ควรมากกว่านั้น จะทำให้เหนื่อยเกินไป และหัวใจทำงานหนัก

โรคกระดูกพรุน เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะสูญเสียมวลกระดูกมาก แคลเซียมจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายลดลง ทำให้ไม่มีแคลเซียมไปซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหาย ดังนั้น นอกจากจะควรรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมสูงแล้ว ยังต้องรับวิตามินดี ที่ช่วยดูดซึมแคลเซียมเข้าสูร่างกายด้วย วิตามินดี หาได้ง่าย โดยการออกไปรับแสงแดดช่วงเช้า หรือรับประทานปลาแซลมอน หรือเห็ดหอม ก็อุดมไปด้วยวิตามินดีเช่นกัน

โรคเหล่านี้ คือโรคที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และต้องดูแลเอาใส่ใจ เฝ้าสังเกตอาการผิดปกติตลอดเวลา ผู้ดูแลจะต้องทำงานหนักบ้าง แต่ก็ต้องช่วยดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ ให้สามารถชีวิตประจำวันได้เหมือนคนทั่วๆไป

การมีชีวิตยืนยาว ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย หากต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้น ผู้สูงอายุที่ป่วย ต้องการกำลังใจจากลูกหลานและคนใกล้ชิด

Visitors: 68,196