UA-56110227-1

เตรียมตัวให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า

แน่นอนว่าเราทุกคนจะต้องกลายเป็นผู้สูงอายุ หากเรายังมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 60 ปี และเมื่อถึงตอนนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และจิตใจที่เราจะเป็นต้องรู้ไว้ และทำใจเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับช่วงชีวิตหลังจากนั้นอย่างมีคุณค่า และไม่สร้างภาระให้กับคนรอบข้าง

ผู้สูงอายุจะอยู่หลังช่วงวัยทองไปแล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนของร่างกายจะไม่มากเหมือนช่วงวัยทอง ลักษณะร่างกายเริ่มถดถอย มีประสิทธิภาพลดลงจนถึงไม่สามารถใช้งานได้เลย

เช่น การมองเห็นเริ่มลดลง ฟันเริ่มหักและเหลือน้อย สีผมกลายเป็นทีเทาหรือสีขาว หูตึง การได้ยินเริ่มน้อยลง ร่างกายเคลื่อนไหวได้ช้าลง เพราะกระดูกเริ่มผุกร่อน ความจำสั้นลง ไม่สามารถจำเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมานานๆ ได้ และการเปลี่ยนแปลงของจิตใจของผู้สูอายุ ที่มักห่อเหี่ยวหรือแปรปรวน อันเนื่องมาจากสาเหตุที่ไม่สามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมาได้

การเตรียมตัวให้สามารถมีชีวิตอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิตได้อย่างมีความสุขนั้น สามารถทำได้และเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ในช่วงก่อนวัยทอง หรือในช่วงวัยทองก็ได้เช่นกัน และเงินทองก็เป็นปัจจัยที่จำเป็น ดังนั้นในช่วงวัยทำงานก็ควรออมเงินเอาไว้ใช้ในช่วงหลังเกษียณบ้าง โดยไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลาน

เพราะอาการเสื่อมถอยของร่างกาย สามารถช่วยรักษาและบรรเทาได้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องสายตาที่มองเห็นไม่ชัดเจน ก็สามารถใช้แว่นสายตาช่วยได้ระดับหนึ่ง หรืออาจจะเป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอวัยวะใหม่แทนได้

ปัญหาเรื่องฟันก็สามารถใส่ฟันปลอมแทนได้ ปัญหากระดูกผุกร่อนก็สามารถผ่าตัดเปลี่ยน หรือดามกระดูกที่ผุกร่อนนั้นด้วยวัสดุอื่นทดแทนได้ เป็นต้น

แต่เรื่องที่น่าเป็นห่วง มากกว่าปัญหาที่ร่างกายใช้งานได้น้อยลงก็คือ ปัญหาเรื่องจิตใจ และความจำที่สั้นลง ทำให้ผู้สูงอายุต้องการคนดูแลอย่างใกล้ชิด

และคงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากคนในครอบครัวนั่นเอง ไม่มีใครที่จะสามารถเข้าใจ และดูแลผู้สูงอายุได้ดีเท่าลูกหลานของเรา และการทำจิตใจให้สงบที่คนชรานิยมทำก็คือ เข้าวัดฟังธรรม ทำบุญ การหันหน้าเข้าธรรมมะ จะช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย และเข้าใจสัจธรรมมากขึ้น

วัยชรา หรือผู้สูงอายุ ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าอย่างมาก เพราะในช่วงวัยทำงาน เขาเหล่านั้นได้สร้างคุณประโยชน์ไว้มากมายในงานที่เขาทำ และเมื่อแก่ตัวลง ความรู้และความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ ทำให้เขาสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆไปสู่ลูกหลาน รุ่นหลังมากมาย

ผู้สูงอายุหลายๆท่าน ยังรับงานสอนหนังสือให้ลูกศิษย์โดยไม่รับเงินเดือนหรือค่าจ้างด้วยซ้ำไป นี่ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถช่วยไม่ให้มีเวลาว่าง จนฟุ้งซ่าน

การมีสมาธิ มีเป้าหมาย และมีความมุ่งมั่นกับงาน ถือเป็นประโยชน์โดยตรงต่อร่างกาย สมอง จิตใจ และสุขภาพโดยรวมอย่างดีเยี่ยมผู้สูงอายุ หรือคนชรา หากพูดถึงคำนี้เราก็คงจะนึกถึงปู่ ย่า ตา ยาย หรือคนแก่ในบ้านของเรา ใช่แล้วค่ะ ผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีไปแล้วตามกฎหมายนั่นเองค่ะ ที่เราเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว หรือจะให้เจาะจงลงไปอีก ผู้สูงอายุก็คือ คนมีอายุมาถึงช่วงปลายของอายุขัย มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เห็นได้ชัดเจน เช่น มีผมสีขาว (ผมหงอก), ผิวหนังเหี่ยวย่น, หลังค่อม เป็นต้น



Visitors: 68,196