UA-56110227-1

งานอดิเรกสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยบริหารสมอง และแก้ไขปัญหาสมาธิสั้น

ปัญหาเรื่องความจำสั้น หรือจดจำได้น้อยลง หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน เราเรียกอาการแบบนี้ว่า “อาการสมาธิสั้น

เรามักจะพบปัญหาเหล่านี้ในผู้สูงอายุ และหากไม่ทำการรักษา หรือป้องกันให้ทันท่วงที ก็จะทำให้อาการเหล่านี้ลุกลามมากขึ้น และอาจจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ จนทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม ไม่สามารจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้

และอาจลุกลามมากขึ้นไปอีก จนไม่สามารถจดจำภาษาที่ใช้สื่อสาร กลายเป็นผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง ที่ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเอง หรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในเรื่องพื้นฐานได้

ดังนั้น การเฝ้าสังเกตอาการ หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่อาจจะทำให้ผู้สูงอายุ มีอาการของโรคสมองเสื่อมนั้น ก็ย่อมเป็นการดี และควรจะทำแต่เนิ่นๆ

อาการที่บ่งบอกว่า คุณอาจจะมีสิทธิ์เป็นโรคสมองเสื่อม

หลงลืมข้อมูลสำคัญ เช่น ลืมว่าวันนี้วันอะไร หลงลืมของที่วางไว้เป็นที่ประจำ หลงลืมชื่อคนใกล้ชิด

หลงทาง ไม่สามารจดจำทิศทางได้ การเดินทางไปไหนมาไหนของผู้สูงอายุด้วยตนเอง จะลำบากมากขึ้น เพราะไม่สามารถจดจำทางกลับบ้านได้

พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น จากที่เคยเป็นคนรักสัตว์ แต่พอเห็นหมาแมวแล้วแสดงอาการรังเกียจ

นึกคำพูดไม่ออก บางครั้งแค่คำพูดง่ายๆ บางคำ ก็อาจจะนึกคำพูดนั้นไม่ออก คือ อาการที่บ่งบอกว่าสมองอาจจะเริ่มฝ่อแล้ว

ไม่มีความสามารถ ในสิ่งที่ตัวเองเคยเชี่ยวชาญ เช่น เคยเป็นคนที่เล่นเปียโนเก่งมาก แต่เมื่อต้องมาเล่น หรือนั่งอยู่ที่หน้าเปียโน กลับเล่นไม่ได้แม้แต่โน้ตเดียว คือหลงลืมวิธีการเล่น หรือบางครั้งลืมกระทั่งชื่อเรียกของมัน

วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อม หรืออาการสมาธิสั้น ก็สามารถทำได้โดย

ทำงานอดิเรก

ไม่ต้องเป็นผู้สูงอายุ ทุกคนน่าจะมีงานอดิเรกที่ตัวเองชอบ และทำในยามว่างอยู่แล้ว เพราะเราชอบเราจึงทำมัน และอยู่กับมันได้เป็นวันๆ ดังนั้น เพื่อไม่ให้เวลาผ่านไปเปล่าๆ การมีกิจกรรมหรืองานอดิเรก จะทำให้เราสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสวน ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เล่นดนตรี วาดรูป ทำงานฝีมือ หรืองานประดิษฐ์ อ่านหนังสือ เขียนไดอารี่ เขียน Blog หรือเล่นเกมส์ที่ช่วยบริหารสมอง เช่น เกมหมากรุก เกมส์จับคู่ (ฝึกความจำ) หรือเกมส์บวกลบคูณหาร (ให้สมองได้ทำงานด้านการคำนวณ) ฯลฯ

ทำกิจกรรมสันทนาการ

การร่วมกิจกรรมที่น่ารื่นเริง เช่น การเล่นเกมส์เป็นกลุ่ม ร้องเพลงประสานเสียง หรือกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้ อย่างสนุกสนาน และมีความสุข ก็จะช่วยให้สมองตื่นตัว และเปิดรับสิ่งต่างๆ รอบตัวได้มากขึ้น

ทำกิจกรรมหรือสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน

เป็นการเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ช่วยให้สมองพัฒนาใหม่อีกครั้ง การเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ในที่นี้ คือสิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน เช่น ในชีวิตไม่เคยเล่นดนตรีมาก่อนเลย ก็ลองหัดเล่นเครื่องดนตรีสักชิ้น เราจะต้องเรียนรู้การเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนั้น ทั้งการอ่านตัวโน๊ต เริ่มเล่นเพลงง่ายๆ ไปจนถึงการเล่นเพลงในระดับที่ยาก และซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ ฝึกทักษะ ฝึกควบคุมการใช้งานอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ฝึกสมองให้สัมพันธ์กัน และพัฒนาความจำให้ดีขึ้นด้วย

อย่างที่รู้กันว่า โรคสมองเสื่อม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การมีกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมอง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะทำให้สมองมีการพัฒนา และไม่ฝ่อ ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการความจำเสื่อมได้

และคำแนะนำเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ รวมทั้งคนที่ดูแลใกล้ชิด ก็ควรพาพวกท่านไปทำกิจกรรมเหล่าด้วย (ถ้าเป็นไปได้) หรือเลือกงานอดิเรกง่ายๆ อื่นๆ ซึ่งมีอยู่มากมายหลากหลายให้เลือกตามความชอบ และสามารถทำเองได้ที่บ้าน เพื่อช่วยพัฒนาสมองก็ได้เช่นกัน

Visitors: 68,207